แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิจารณ์บทเพลง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิจารณ์บทเพลง แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เพลง สืบ นาคะเสถียร

เพลง สืบ นาคะเสถียร 

เพลง สืบ นาคะเสถียรเป็นเพลงที่ผ่านยุคป่าเขาลำเนาไพร่มาแล้วบทเพลงนี้อยู่ในช่วงการอนุรักษ์ธรรมชาติ ดังปรากฏในเนื้อเพลงความว่า

                ดวงตาของเจ้าลุกโชน          เสียงตะโกนของเจ้าก้องไพร
            บัดนี้เจ้านอนทอดกาย   จากป่าไปด้วยหัวใจกังวล
            วาจาของเจ้าจริงจัง                มีพลังเหมือนดั่งมีมน
            นักสู้ของประชาชน      จะมีกี่คนทำได้ดั่งเจ้า
            ดูแลคุ้มไพรให้ความคุ้มครอง     ดูแลสารทุกข์สารสัตว์
           

            จากเนื้อเพลงที่ปรากฏในข้างต้น สะท้อนการจากลาของเพื่อนนักอุดมการณ์คือ สืบ นาคะเสถียรที่เป็นคนที่ทำให้สุรชัยเห็นค่าของการอนุรักษ์และรักธรรมชาติมากยิ่งขึ้น เพลงนี้เป็นการแต่งขึ้นเพื่อรำลึกด้วยใจที่รักและเคารพเพื่อนอย่างแท้จริง

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เพลง อานนท์

เพลง อานนท์ 

เพลงอานนท์ เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงทหารหนุ่มผู้หนึ่ง ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนของชายไทยทุกคนที่ต้องรับใช้ชาติ ทำให้ต้องห่างบ้าน จากครอบครัว มาอยู่ในดินแดนแห่งเสียงปืนและสนามรบเพื่อต่อต้านศัตรูผู้รุกราน จนกระทั่งเสียชีวิตลงกลางป่าท่ามกลางความเจ็บปวดของพ่อ แม่และญาติมิตร ดังปรากฏคำร้องที่ว่า

                    จากบ้านมาแนวหน้า                           ตามคำเพรียกขาน
            เป็นทหารของกองทัพแห่งชาติไทย                  ถือปืนทะนงพุ่งตรงต้านตีศัตรู
................................................................................................................................................................
            แสงตะวันรอนขอบฟ้าลับอาลัย                       โอ้ลูกชายของแม่ต่อแต่นี้ไม่ได้เห็น
            ฝากหัวใจรอยเลือดที่กระเซ็น                         เช้าหรือเย็นให้ชื่นดังปืนรบ
            ปืนรบและกวีชีพนี้เพื่อมวลประชา                   จารึกเลือดน้ำตาบนแผ่นฟ้าและผาหิน

            จากบทเพลงดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงหน้าที่ของชายไทยคนหนึ่งที่ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารเพื่อรับใช้ชาติบ้านเช่นเดียวกับชายไทยทุกคนที่ได้รับเกียรตินั้น เมื่อได้เข้าประจำการเป็นทหาร ในฐานะทหารชั้นผู้น้อยได้รับมอบหมายให้ไปประจำการที่ชายแดนแห่งหนึ่งซึ่งกำลังมีการสู้รบกับศัตรู ด้วยไฟแห่งความขัดแย้งและสนามรบแห่งชีวิตนี้ กระสุนปืนจึงทำหน้าที่พรากชีวิตของทหารเหล่านี้ให้สูญสิ้นดับลงไปที่ละคน บุคคลเหล่านี้ทิ้งชีวิตไว้ที่สนามรบอันร้อนผ่าวเพื่อปกป้องมวลประชาของชาติเหลือเพียงชื่อที่ได้รับการกล่าวขานยกย่อง อานนท์ ก็เป็นชายหนุ่มอีกคนหนึ่งที่ต้องจบชีวิตด้วยภาระหน้าที่ทางทหาร เหลือไว้แต่เพียงหยดน้ำตาและความอาลัยแก่พ่อ แม่และญาติมิตรที่เฝ้ารอการกลับมา



ปรีดีย์ พนมยงค์

เพลง ปรีดีย์ พนมยงค์

เป็นบทเพลงสดุดี ปรีดีย์ พนมยงค์ เรื่องอุดมการณ์และการเมือง ว่าเป็นผู้นำทางเสรีสู่ประวัติศาสตร์ดังปรากฏในเนื้อเพลงความว่า

                มาบัดนี้ พ่อลาลับไปจากโลก           ยังความโศกความอาลัย ให้สุดแสน
            ลูกชาวธรรมศาสตร์ ประกาศแทน         จะยึดแน่นอุดมการณ์ที่ท่านทำ
            คือวิญญาณเสรี                               ชื่อปรีดี พนมยงค์
................................................................................................................................................................                                    พลังคือหรีดและมาลัย                      จากดวงใจชนรุ่นหลัง           
            สายใยไม่หยุดยั้ง แต่ยังอยู่อย่างยืนยง      แม่โดมจักผงาดธรรมศาสตร์จักดำรง       
            ปรีดี พนมยงค์ ประดับไว้ในใจชน


            จากเนื้อเพลงที่ปรากฏในข้างต้น เป็นภาพสะท้อนทางสังคมเกี่ยวกับวีระชนผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองของไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย และทำให้ไทยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นฉบับแรก และเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปรีดีย์ พนมยงค์ จึงถือว่าเป็นบุคคลสำคัญของการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของไทย


วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

วิจารณ์เพลง จิตร ภูมิศักดิ์ คาราวาน


จิตร ภูมิศักดิ์

เพลง จิตร ภูมิศักดิ์


เพลง จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นบทเพลงที่เล่าถึงการต่อสู้กับอำนาจความไม่เป็นธรรมในสังคม เพื่อผลประโยชน์ของมวลประชา  ซึ่งเคยถูกกล่าวหาว่าเป็น กบฏของชาติ เพราะแนวคิดทางการเมืองสังคมในแง่มุมที่แตกต่าง แต่เพราะผลงานต่างๆที่เขาได้สร้างไว้ก่อนตายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อมวลประชาชาวไทยในภายหลัง ดังปรากฏในเนื้อเพลงที่ความว่า

                แสนคนจนยาก สิบคนหากรวยหลาย            อับอาย แก่หล้าฟ้าดิน
            เขาจึงต่อสู้ อยู่ข้างคนทุกข์เข็ญ                       ได้เห็น ได้เขียน พูดจา
            คุกขังเขาได้ แต่หัวใจ อย่าปรารถนา                เกิดมา เข่นฆ่า อธรรม
................................................................................................................................................................
            เขาตาย ในชายป่า เลือดแดงทา ดินอีสาน          อีกนาน อีกนาน อีกนาน
            เขาตาย เหมือนไร้ค่า แต่ต่อมา ก้องนาม            ผู้คน ไถ่ถาม อยากเรียน
            ชื่อจิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักคิด นักเขียน                ดั่งเทียน ผู้ถ่องแท้ แก่คน


            จากเนื้อเพลงที่ปรากฏในข้างต้น จะเห็นภาพสะท้อนทางสังคมด้านการเมืองการปกครองของไทยในสมัยนั้น ซึ่งเอื้อต่อผู้มีอำนาจ ผู้สร้างกรอบแนวคิดคำว่าถูกผิดแก่สังคม ซึ่งเป็นการปิดกั้นทางความคิดของ นักคิด นักเขียนในสมัยนั้น เมื่อเกิดความไม่เป็นธรรมในสังคมการต่อสู้จึงเริ่มขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งความยุติธรรมของแต่ละฝ่าย จิตร ภูมิศักดิ์ ในฐานะนักคิดนักเขียนและลูกชาวนาคนหนึ่ง จึงลุกขึ้นมาต่อสู้กับอำนาจความไม่เป็นธรรมในสังคมเพื่อคนยาก คนจน แต่เพราะอำนาจที่ปกคลุมแนวคิด แนวเขียน ของเค้า จิตร ภูมิศักดิ์จึงกลายเป็นเหยื่อของความอยุติธรรม แต่เพราะผลงานต่างๆ ที่ได้สร้างไว้ก่อนตายถูกนำออกมาเผยแพร่ต่อสายตาประชาชน ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏอย่าง จิตร ภูมิศักดิ์ ได้รับการยกย่องจากประชาชนรุ่นต่อมาว่า เป็นนักคิด เป็นนักเขียน ผู้เกิดก่อนกาลและผู้ไม่เคยเลือนหายไปพร้อมกับกาลเวลา

วิจารณ์เพลง ข้าวคอยฝน


เพลง ข้าวคอยฝน


เพลงข้าวคอยฝน เป็นบทเพลงที่สะท้อนถึงความยากลำบากของชาวไร่ ชาวนา ที่ต้องต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด ทั้งจากอาชีพของตนที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติคาดเดาอะไรไม่ได้และระบบเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยสำหรับผู้มีอำนาจหรือเหล่านายทุนทั้งหลาย จึงเหลือสองทางให้ชาวไร่ชาวนาได้เลือก ว่าจะอยู่รอคอยความหวังซึ่งไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างหวังหรือไม่ หรือลุกขึ้นมาต่อสู้ร่วมกันเพื่อชีวิตที่ดีกว่า ดังเช่นปรากฏในเนื้อเพลงความว่า

                อยู่อย่างข้าวคอยฝน          บ่พ้นราแรงแห้งตาย      
            ชีวิตชีวาน่าหน่าย                 จะหมายสิ่งหมายบ่มี
            จากบ้านเกิดเมืองนอน            พเนจรลูกเล็กเด็กแดง    
            สองขาของเฮามีแฮง               ตะวันสีแดงส่องทาง
................................................................................................................................................................
            ส่องทางให้เห็นเส้นทาง            ร่วมทางเพื่อชูชัยมา                
            เพื่อท้องนาประโยชน์อุดม         ทุนนิยมจักถูกทำลาย
            อยู่อย่างข้าวคอยฝน                กี่คนกี่คนแห้งตาย                  
            กี่คนกี่คนสบาย                      ขี่ควายไม่เหมือนขี่คน


            จากบทเพลงข้างต้น จะเห็นภาพสะท้อนทางสังคมด้านเศรษฐกิจของไทยอันเป็นผลมาจากระบอบการเมืองการปกครองในสมัยนั้น ซึ่งนายทุนหรือผู้ประกอบการซึ่งเป็นองค์กรเอกชนเป็นผู้ประกอบการแต่เพียงผู้เดียวโดยที่รัฐไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวจึงมีอำนาจผูกขาดทางด้านเศรษฐกิจได้ ซึ่งเป็นระบบที่แสวงหาผลกำไรโดยเฉพาะ จึงส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตรายย่อย เช่น ไม่มีตลาดรองรับ สุดท้ายก็ต้องพึ่งผู้ประกอบการอย่างเอกชน ประเด็นนี้เองประชาชนจึงมักถูกกดขี่หรือเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอๆ ดังนั้นพวกนายทุนจึงมีแต่รวยไปข้างหน้า ซึ่งต่างจากชาวนาที่ต้องจนและทนทุกข์เหมือนเดิม  ข้าวคอยฝนข้าวคอยฝน

5 เรื่องที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน

  นี้ก็เป็น ep.2 สำหรับคลิปที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์รอบตัวเรา คุณเคยรู้ไหมว่าขนของเราส่วนไหนแข็งที่สุด ถ้าอยากรู้ก็เข้าไปดูกันนะครับ ช่...